วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของสื่อประสม

ความหมายของคำว่าสื่อประสม จากนิยามของสื่อประสม ที่รวบรวมจากหลายแหล่ง พบว่ามีการให้นิยามที่คล้ายกันดังนี้ “สื่อประสมคือ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงและนำเสนอในรูปข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ โดยเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เพื่อการท่องไปในเนื้อเรื่อง การมีปฏิสัมพันธ์ การสร้าง และการสื่อสาร”

เทคโนโลยีสื่อประสม

เนื่องจากมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีของสื่อหลากหลายสื่อ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
  • เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology) ซึ่งรวมทั้งเสียงพูด และเสียงดนตรี ตั้งแต่การประมวลผล การแสดงผล การจัดการต่างๆ เช่น การบีบอัดสัญญาณ การสื่อสาร การส่งสัญญาณ
  • เทคโนโลยีเกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology) อันได้แก่ การจัดเก็บ การประมวลผล การปรับแต่ง การใช้งาน การเรียกหา สืบค้น การส่งกระจาย มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ การเข้าและถอดรหัส การส่งข้อมูล การทำงานร่วมกับสื่ออื่นๆ
  • เทคโนโลยีรูปภาพ (Image Technology) เป็นการพัฒนา และประยุกต์ใช้ภาพ การจัดการฟอร์แมต คลังภาพ การค้นหา การสร้าง และตกแต่งภาพ
  • เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology) เกี่ยวกับข้อความหรือ ตัวอักษร ทั้งการใช้ และลักษณะรูปแบบของ ข้อความแบบต่างๆ
  • เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ (Animation & 3D Technology) เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแสดงผล ด้นภาพเคลื่อนไหว ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างภาพเสมือนจริง (VR - Visual Reality) การสร้าง ตกแต่ง ประมวลผล การใช้งาน
  • เทคโนโลยีการพัฒนา (Authoring System Technology) คือ เทคโนโลยีที่ได้พัฒนา เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับ งานพัฒนามัลติมีเดีย ในรูปของ ซอฟต์แวร์ช่วย ในการนำข้อมูล เนื้อหา (Content) เข้าไปเก็บตามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อนำเสนอ เช่น การใช้เครื่องมือต่างๆ หรือการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ
  • เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อนำเอา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับ ระบบการศึกษา ในรูปของ CAI - Computer Aided Instruction, CBT - Computer Based Training ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์ โฆษณา สร้างภาพยนตร์
  • เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology) เป็นการนำเอามัลติมีเดีย มาใช้ด้านงานพิมพ์ เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับงานพิมพ์ มีรูปแบบที่โดดเด่น และนำเสนอ หรือพิมพ์ลงสื่อได้หลากรูปแบบ เช่น งาน DTP - Desktop Publishing, CD-ROM Title & Publishing
  • เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing) ส่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูล เผยแพร่สัญญาณ เช่น Conference, Multicasting Backbone เป็นต้น
  • เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology) เนื่องด้วยข้อมูลด้านมัลติมีเดีย มักจะมีขนาดโต ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับสื่อบันทึกข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ รูปแบบการบีบอัดข้อมูล รูปแบบการบันทึกข้อมูล
  • เทคโนโลยี WWW & HyperText โดยจะช่วยให้เกิดการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบที่นิยมมากที่สุด และเร็วที่สุด ผ่านระบบ WWW และมีระบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยี HyperText & HyperMedia
  • เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives) ซึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และการเรียกค้นภายหลัง เช่น Photo & Image Server, AVI archives
เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญกับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

องค์ประกอบของสื่อประสม

การนำเสนอแบบสื่อประสม หมายถึงการนำเอาความคิด เนื้อหาสาระที่ต้องการแสดงผล ออกแสดงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีองค์ประกอบเพื่อช่วยในการนำเสนอแบบสื่อประสม เพื่อให้สิ่งที่แสดงผลนั้นน่าดู และสามารถสื่อความเข้าใจต่างๆ ได้ง่าย
หากจะพิจารณาถึงเนื้อหาทั่วๆ ไป เช่นการนำเสนอเรื่อง อะเมซิ่งไทยแลนด์ (Amazing Thailand) ผู้นำเสนออาจเตรียมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย สถานที่ท่องเที่ยว ทิวทัศน์ที่สวยงาม วัฒนธรรมประเพณีของไทย อาหารการกิน ตลอดจนวิถีชีวิตบางอย่างเกี่ยวกับคนไทย ในการนำเสนอมีได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การนำเนื้อหาเหล่านั้นมาพิมพ์เป็นหนังสือเอกสารเผยแพร่ มาสร้างเป็นวีดิทัศน์ หรืออาจสร้างเป็นบทการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์แบบสื่อประสม การนำเสนอด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ก็เพื่อให้เป็นสื่อที่น่าสนใจ น่าติดตาม ผู้ชมมีความประทับใจ สามารถสื่อความในเรื่องเนื้อหาต่างๆ ได้ดี การนำเสนอแบบสื่อประสม จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้รูปแบบการนำเสนอ โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการแสดงผลให้ โดยเน้นทั้งภาพ ทั้งเสียง หรือแม้แต่การโต้ตอบ รูปแบบที่ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างสื่อประสมเพื่อนำเสนอ แสดงได้ดังรูป

รูปองค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสม


ในส่วนขององค์ประกอบดังกล่าว สามารถขยายตามองค์ประกอบของสื่อประสม ในส่วนของเนื้อหาที่จะสร้างให้อยู่ในรูปที่นำไปประมวลผลได้ คือส่วนที่ 4 และ 5 ดังนี้

ข้อความ (Text)

เป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องในเนื้อหาของสื่อประสมเสมอ และเป็นหนทางการนำเสนอได้ง่ายที่สุด และมีการพัฒนามาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะของข้อความที่ปรากฏในสื่อประสม ประกอบด้วย
  1. ข้อความที่พิมพ์ เป็นข้อความเอกสารที่พิมพ์ออกมาในรูปกระดาษ เป็นผลงานของงานพิมพ์เอกสารทั่วไป เช่น งานเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ตัวอักษรแต่ละตัวเก็บในรูปแบบรหัส เช่น รหัส ASCII
  2. ข้อความสแกน เป็นเอกสารที่ได้รับจากการสแกน และเป็นข้อความที่เก็บในรูปแบบรูปภาพ หรือ Image
  3. ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการแทนข้อความให้อยู่ในรูปที่แทนในสื่อที่ใช้ประมวลผลได้
  4. ข้อความหลายมิติ (Hypertext) มีบทบาทสำคัญมากในยุคหลังนี้ เพราะเป็นข้อความที่เก็บในรูปข้อความอิเล็กทรอนิกส์ และมีการเชื่อมโยงกัน สามารถนำมาประมวลผลและแสดงผลในลักษณะเชื่อมโยงกันได้ จึงเหมาะกับผู้ใช้

ภาพ (Graphics)

เป็นส่วนของสื่อประสมที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อความหมายได้ดี มีสีสรร และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เพราะดึงดูดความสนใจได้ ภาพประกอบด้วย
  1. บิตแมพ (Bitmaps) เป็นการเก็บรูปภาพเป็นพิกเซล แต่ละพิกเซลก็คือจุดเล็กๆ ที่แสดงเป็นสี การเก็บข้อมูลจะเก็บเป็นพิกเซล ดังนั้นรูปภาพแต่ละรูปจึงต้องเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในการจัดเก็บจึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล เพื่อให้เล็กลง ผู้พัฒนาได้สร้างมาตรฐานการเก็บข้อมูลและบีบอัด เช่น .jpg .gif .tif .fax เป็นต้น
  2. คลิปอาร์ต ในการสร้างสื่อประสมจำเป็นต้องมีรูปภาพประกอบ เพื่อความสวยงามและดึงดูความสนใจ เพื่อให้การสร้างสื่อประสมทำได้เร็ว จึงมีการเก็บรูปภาพเป็นห้องสมุดภาพ ที่เรียกมาใช้ได้ง่าย ภาพที่เก็บอาจเป็นภาพส่วนหลัง (Background) ภาพขอบ ภาพพื้น ที่ใช้ประกอบฉากหรือนำมาตกแต่ง ตลอดจนภาพที่ใช้เสริมรูปภาพต่างๆ
  3. ภาพจากอุปกรณ์อินพุตต่างๆ เป็นภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลจากวีดิทัศน์ จากสแกนเนอร์ ฯลฯ
  4. ไฮเปอร์พิกเจอร์ (Hyperpictures) เป็นภาพที่ปรากฏในสื่อประสมที่สามารถเชื่อมโยง หรือกระตุ้นให้เกิดการทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อคลิกแล้วจะกลายเป็นวีดิทัศน์

เสียง (Sound)

เสียงเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบการนำเสนอแบบสื่อประสม เสียงทำให้บรรยากาศการรับรู้น่าสนใจ เช่น ในเกม ภาพยนตร์ ซีดี จะมีการบันทึกเสียงเป็นส่วนหลังเพื่อสร้างอารมณ์ต่างๆ ร่วมด้วย ลักษณะของเสียงประกอบด้วย
  1. คลื่นเสียงแบบออดิโอ มีการบันทึกเป็น .WAV .AU การบันทึกจะบันทึกตามลูกคลื่นเสียง โดยมีการแปลงเป็นสัญญาณให้เป็นดิจิตอล เก็บในรูปแบบการบีบอัดเสียงเพื่อให้เล็กลง
  2. เสียง CD เป็นรูปแบบบันทึกที่มีคุณภาพสำหรับการบันทึกลงบนแผ่น CDเพลงที่วางขายทั่วไป บันทึกตามมาตรฐานนี้
  3. MIDI เป็นเสียงที่ใช้แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ สามารถเก็บข้อมูล และให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์สร้างเสียงตามตัวโน้ต เสมือนการเล่นของเครื่องดนตรีนั้นๆ
  4. ไฮเปอร์ออดิโอ เป็นการนำสัญญาณเสียงไปกระตุ้นหรือผสมกับการทำงาน เพื่อการนำเสนอที่สลับซับซ้อนขึ้น

วีดิทัศน์ (Video)

วีดิทัศน์เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวประกอบเสียง วีดิทัศน์เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ให้รายละเอียดการเคลื่อนไหวเหมือนจริง ส่วนของวีดิทัศน์ประกอบด้วย
  1. ดิจิทัลวีดิทัศน์ เป็นการนำสัญญาณวีดิทัศน์ เก็บในรูปการบีบอัด เพื่อให้เก็บได้เล็กลง มีการสร้างมาตรฐาน เช่น MPEG, AVI, MOV
  2. สัญญาณถ่ายทอดสด เป็นการนำเอาสัญญาณวีดิทัศน์ จากการถ่ายทอดรายการจริง เชื่อมโยงการกระจายส่งไปยังปลายทางที่ต้องการ ในส่วนของวีดิทัศน์มีอุปกรณ์การประมวลผลหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

พีซีเพื่อการนำเสนอแบบสื่อประสม

พีซีในปัจจุบันมีขีดความสามารถที่ใช้ในการนำเสนอแบบสื่อประสมได้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทอรนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำเสนอข้อกำหนดพีซีสำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งรวมถึงการแสดงผลแบบสื่อประสมไว้ด้วย ข้อเสนอที่เสนอนี้จะปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สำหรับข้อเสนอของศูนย์ในปี พ.ศ. 2541 มีดังนี้
ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง ที่สนับสนุนการประมวลผลคำสั่งทางด้านสื่อประสม โดยมีความสามารถระดับอินเทลเพนเทียมที่ใช้เทคโนโลยี MMX ใช้สัญญาณนาฬิกา ความเร็ว 166 MHz มีหน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 16 MB
สำหรับระบบเก็บข้อมูล มีฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 2 GB มีซีดีรอมที่สามารถส่งผ่านข้อมูลที่ความเร็ว 20X โดยอัตรา 1X คือการส่งได้ 150 กิโลบิตต่อวินาที มีการ์ดแสดงผลกราฟิกส์ที่ความละเอียดไม่น้อยกว่า 640 x 480 จุด และแสดงสีได้ไม่น้อยกว่า 256 สี มีจอภาพพร้อมแป้นพิมพ์ และเมาส์
นอกจากนี้ต้องมีการ์ดแสดงผลเสียง ซึ่งแสดงผลเสียงได้ชัดเจน มีตัวรับเสียงเป็นไมโครโฟน และมีลำโพงเพื่อแสดงผลเสียง

การประยุกต์ใช้สื่อประสม

การประยุกต์ใช้สื่อประสมกว้างขวางมาก ตลาดของสื่อประสมจึงมีมาก เทคโนโลยีสื่อประสมสามารถประยุกต์ใช้งานในส่วนที่สำคัญหลายส่วน เช่น
  1. การประยุกต์ในธุรกิจร้านค้าและอุตสาหกรรม ร้านค้าสามารถใช้สื่อประสมในการโฆษณา การสร้างคาตาล็อกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในเรื่องการติดต่อกับลูกค้า การฝึกอบรม การดำเนินธุรกิจในลักษณะการให้บริการแบบอัตโนมัติต่างๆ ตลอดจนประยุกต์ใช้กับกานำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่น่าสนใจ
  2. การประยุกต์ทางด้านการศึกษา สามารถประยุกต์ได้กว้างขวาง ตั้งแต่การเรียนการสอน การสร้างสื่อ การใช้เป็นห้องสมุด การพิมพ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  3. การประยุกต์ในเรื่องนันทนาการ เทคโนโลยีสื่อประสมมีผลอย่างมากในการสร้าง ภาพยนตร์ การสร้างเกม การสร้าง ตลอดจนการนำเสนอในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์
  4. การประยุกต์ในวงการรัฐบาล สามารถนำไปใช้ในการให้บริการ การดำเนินการทางด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ทางทหาร การกีฬา การสร้างงวิธีนำเสนอข้อมูลแบบต่างๆ
  5. งานการแพทย์และสาธารณสุข งานการแพทย์ใช้ประโยชน์อย่างมากในเรื่องของการนำเสนอข้อมูล การเรียนการสอนทางด้านการแพทย์ การออนไลน์เพื่อให้การปรึกษาทางการแพทย์ ตลอดจนการดำเนินการที่เรียกว่า เทเลเมดิซีน
  6. การสร้างแหล่งความรู้ เช่น สารานุกรม การสร้างห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างมากขึ้น
การประยุกต์ใช้สื่อประสมมีวงกว้างขวางมากขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้อีกมาก

ประโยชน์ของสื่อประสม

มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้
  • เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
  • นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
  • สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
  • สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
                                ที่มา :  http://www.auinarin.ob.tc/l01.htm  
                    ผู้สืบค้นข้อมูล : นาย กิตติพัฒน์  จงรักษ์  ม.4/1  เลขที่ 38
                    สืบค้นวันที่ : 26/01/2011



ความหมายของสื่อประสม (Definitions of Multimedia)

สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และ วิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์และเสียง

ระบบสื่อประสม คือ เป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลได้หลายๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งจะเป็นการรวมเอาวิชาการหลายๆ สาขามาประยุกต์เข้าด้วยกัน ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้งานด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเราเรียกกันว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction:CAI) ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยจะมีการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลให้ผู้เรียนเห็นผ่านทางจอภาพที่สำคัญเทคโนโลยีนี้สามารถใช้สื่อประสมหลายๆชนิดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง สื่อการเรียนรูปแบบนี้จึงสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น

มัลติมีเดีย การใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น
สื่อมัลติมีเดีย สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบที่มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการนำเสนอข้อมูล เป็นหลัก โดยได้มีการออกแบบนำเสนอไว้อย่างเป็นระบบ มัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน จะเน้นส่วนไหน มากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และจะเน้นผลผลิตที่เกิดจากการ นำเสนอข้อมูลหลากลายรูปแบบ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความ
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคโนโลยีได้เข้ามามีบาทเป็นอย่างสูงสำหรับในยุคนี้ ซึ่งสามารถพิจารณา จากการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสมรรถนะของซีพียู รวมทั้งประสิทธิ์ภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในปัจจุบันนี้ ต่างก็พัฒนาขึ้น มาเพื่อรองรับความต้องการของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
1.ความสามารถของโปรเซสเซอร์ที่สามารถปะมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการคำนวณด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
2.หน่วยความจำในเครื่องที่มีความเร็วสูงขึ้น และเพิ่มขยายได้มากขึ้น
3.การ์ดแสดงผลที่ช่วยให้แสดงภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูง
4.จอภาพขนาดใหญ่
5.การ์ดเสียงและลำโพงที่สมบูรณ์แบบเทียบได้กับเครื่องเสียงราคาแพง ๆ
6.อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                                                         
                                                      ที่มา : http://porhiso2.blogspot.com/2007/09/blog-post.html
                                                      ผู้สืบค้นข้อมูล : นาย กิตติพัฒน์  จงรักษ์  ม.4/1  เลขที่ 38
                                                      สืบค้นวันที่ : 26/01/2011

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

อ่าวพะนาง

 
 
 
 
 
 
 
ชื่อ: อ่าวพระนาง
ที่ตั้ง: กระบี่, ภาคใต้

อ่าวพระนางตั้งอยู่ห่างจากหาดนพรัตน์ธารา ตามถนนเลียบชายทะเลเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ประกอบด้วยชายหาดหลายแห่ง มีภูเขาคั่นระหว่างชายหาด ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตา ด้านทิศตะวันออกของอ่าวมีถ้ำหินงอกหินย้อยชื่อ ถ้ำพระนาง และบริเวณด้านหน้าของอ่าวนางมีกลุ่มเกาะน้อยใหญ่ถึง 83 เกาะ ที่เป็นโขดหินรูปร่างแปลกประหลาด บ้างก็คล้ายรองเท้าบู๊ท เรือสำเภา หัวนกและอื่นๆ กลุ่มเกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่มีชื่อเป็นภาษายาวี เช่น เกาะปอดะ หรือเกาะหัวขวาน เกาะยาหมัน เกาะบะติงมิ้ง เกาะยาวาซา เกาะล่าดิง เกาะหม้อ เกาะทัพ เป็นต้น
 
ผู้สืบค้นข้อมูล : นาย กิตติพัฒน์ จงรักษ์ ม. 4/1 เลขที่37
สืบค้นวันที่ : 04/01/2011

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี



บันทึกการอ่าน

เรื่อง      อัพโหลดรูป Profile ให้แจ่ม

       ในกรณีที่คุณเพิ่งสมัครและยังไม่เคยอัพโหลดรูปของคุณมาก่อนเลย ให้คุณดูที่ด้านซ้ายมือที่เป็นรูปเงาคนเปล่าๆ จะมีตัวเลือกให้คุณอยู่ข้างล่างว่า

                                                      

1. Upload a profile picture - ซึ่งเมื่อคุณคลิกเข้าไปก็จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้คุณเลือกรูปเท่ๆ ของคุณใส่เข้าไปได้เลย
2. Take a webcam piture - หรือถ้าอยาก create อะไรใหม่ๆ และมั่นใจหน้าตาตัวเองบนเ็ว็บแคม ก็สามารถคลิกที่นี่เพื่อให้กล้องเว็บแคมของคุณจับภาพสดๆ ขึ้นไปเป็น profile picture ได้เหมือนกัน
หรืออีกกรณีที่คุณเคยอัพรูปขึ้นไปแล้ว แต่อยากจะปรับเปลี่ยนรูป เปลี่ยนแอคชั่นใหม่ๆ ไม่อยากจำเจกับรูปเดิมๆ ก็ทำได้ง่ายๆ เช่นกันครับ โดยในหน้า Profile ของคุณ ให้คลิกที่รูปของคุณจะมีเมนูเล็กๆ เขียนว่า Change picture เมื่อคุณคลิกลงไปก็จะเกิดเป็นเมนูย่อยๆ ตามนี้

                                        

             คุณก็สามารถเปลี่ยนรูปโดยเลือกว่าจะ  upload picture - คืออัพรูปใหม่จากคอมพ์ของคุณเข้าไป หรือว่า Take a Picture - ให้เว็บแคมถ่ายภาพใหม่ของคุณ Choose from Album - เลือกรูปจากอัลบั้มที่คุณเคยอัพโหลดเอาไว้แล้ว Edit Thumbnail - จัดการเรื่องการ crop ภาพให้อยู่ในมุมที่ดูพอดี Remove Picture - เอาภาพออกเฉยๆ  แค่นี้เอง  เล่น facebook ง่ายนิดเดียวใช่มั้ยครับ

ผู้เขียน : facebookgoo.com
ผู้อ่าน : นาย กิตติพัฒน์ จงรักษ์ ม.4/1 เลขที่ 37
อ่านวันที่ : 4/01/2011

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

4 วิธีในการทำให้เครื่องคอมฯ มีอายุยาวนานขึ้น

"การป้องกัน ย่อมดีกว่าการแก้ไข" จริงหรือเปล่าครับ ! วิธีง่ายๆ ในการช่วยทำให้อายุของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีอายุที่ยาวนานขึ้น

1.หลีกเลี่ยงการตั้งเครื่องคอมฯ ในบริเวณที่มีการสูบบุหรี่

ควันบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เครื่องคอมฯ มีปัญหาได้ เพราะเขม่าควันจะทำให้เกิดคราบ ทำให้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่องมีปัญหาได้

2.หลีกเลี่ยงให้เครื่องคอมฯ ทำงานตลอดเวลา

ถ้าไม่ได้ใช้งาน ควรปิดเครื่องคอมฯ เสีย ทั้งนี้เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ให้พักบ้าง อย่างไรก็ตามเราสามารถระบบ * Power Management ในการช่วยเหลือได้ (คลิกขวาที่หน้าจอ เลือก Properites -> Screen Saver จากนั้นเลือก Power)


* Power Management จะเป็นโปรแกรมจัดการเรื่องการใช้พลังงานในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น monitor, harddisk, cpu เป็นต้น โดยการกำหนดเวลาว่า ถ้าไม่มีการใช้งานในระยะเวลาหนึ่ง ให้ทำการหยุดการทำงานในอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ตั้งเวลาไว้ 30 นาที ไม่มีการใช้งานให้ ปิดหน้าจออัตโนมัติ เพื่อประหยัดพลังงาน เป็นต้น

3.หลีกเลี่ยงให้จอภาพทำงานตลอดเวลา

สามารถทำได้โดยปิดสวิทซ์ที่จอภาพในขณะที่ไม่มีการใช้งาน โดยเฉพาะสำนักงานที่พักเที่ยงในตอนกลางวัน หรือใช้ระบบ Power Management ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟของคุณได้ด้วย

4.ระวังเวลาขนย้ายเครื่องคอมฯ

ก่อนการเคลื่อนย้าย หรือเปิดฝาเครื่อง ต้องปิดและดึงปลั๊กไฟเสมอทกครั้ง เพื่อป้องกันไฟช๊อต


                                                    ข้อมูลจาก...http://www.justusers.net/knowledges/Tips/tips.htm